วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560

ประวัติครัวซองต์

ใคร ๆ ก็คิดว่า ครัวซองต์ (Croissant) น่าจะมีจุดกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส แต่เปล่าเลย ขนมอร่อย ๆ ชิ้นนี้มีที่มาจากไหน ใครเป็นคนคิด ต้องตามมาดู
          ครัวซองต์ (Croissant) หรือขนมอบที่ใช้แป้งพายชั้นมา เป็นส่วนผสมในการทำ ที่คนส่วนใหญ่อาจคิดว่า มีต้นกำเนิดมาจากประเทศฝรั่งเศส เพราะคำว่า Croissant นั้นเป็นภาษาฝรั่งเศส ซึ่งหมายถึงพระจันทร์เสี้ยว ทำให้ลักษณะรูปร่างของขนมครัวซองต์นั้นเหมือนกับพระจันทร์เสี้ยวนั่นเอง และแท้ที่จริงแล้วครัวซองต์นั้นไม่ได้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศฝรั่งเศสแต่อย่างใดแต่ต้นกำเนิดที่แท้จริงของขนมชนิดนี้มาจากที่ไหน วันนี้กระปุกดอทคอมมีคำตอบให้คุณค่ะ

          จากเรื่องราวในประวัติศาสตร์เชื่อกันว่า ครัวซองต์มีต้นกำเนิดมาจากประเทศออสเตรีย โดยเรื่องราวของครัวซองต์ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 17 หรือราว ๆ ปี 1683 ได้เกิดสงครามสู้รบระหว่างชาวเติร์กและชาวออสเตรีย โดยชาวเติร์กได้ส่งกองทัพมาล้อมกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เป็นเวลานานแรมเดือนแต่ก็ยังไม่สามารถตีผ่านกำแพงเมืองเข้าไปได้ ทำให้ทหารชาวเติร์กคิดจะขุดอุโมงค์เพื่อโจมตี แต่ระหว่างที่ขุดอุโมงค์นั้น คนทำขนมปังที่อยู่เวรดึกเกิดได้ยินเสียงจึงไปเตือนทหารชาวออสเตรียทำให้รักษากรุงเวียนนาเอาไว้ได้ และต่อมาสามารถขับไล่กองทัพชาวเติร์กออกไป ซึ่งชัยชนะที่ได้รับทำให้มีการเฉลิมฉลองและมีการทำขนมปังรูปพระจันทร์เสี้ยวซึ่งเป็นธงสัญลักษณ์ของพวกชาวเติร์ก และนี่เองก็คือจุดกำเนิดของขนมครัวซองต์

          แต่ก็มีอีกเรื่องราวหนึ่งที่แตกต่างกันออกไปได้เล่าไว้ก็คือ เจ้าหญิงมารี อังตัวแนต (Marie Antoinette) แห่งประเทศออสเตรียได้เสด็จอภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และได้ย้ายมาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส ด้วยความที่ไม่คุ้นเคยกับอาหารของชาวฝรั่งเศส รวมถึงคิดถึงอาหารประเทศของตน เจ้าหญิงมารีเลยให้พ่อครัวทำขนมครัวซองต์ขึ้นมา และนี่เองก็เป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมครัวซองต์ถึงกลายเป็นขนมที่นิยมในประเทศฝรั่งเศสจนมาถึงปัจจุบันนี้

          แต่อย่างไรก็ตามต้นกำเนิดของครัวซองต์นั้นไม่ได้มีหลักฐานระบุไว้แน่ชัดและมีเรื่องเล่าที่แตกต่างกันออกไปมากมาย บ้างก็ว่าต้นกำเนิดมาจากประเทศออสเตรีย ประเทศฮังการีบ้าง ประเทศโรมาเนียบ้าง แต่ไม่ว่าจะมีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใดก็ตาม ขนมครัวซองต์ก็ได้กลายเป็นขนมสุดโปรดยอดนิยมของคนทั่วโลกไปโดยปริยาย

ปฏิวัติฝรั่งเศส

ปฏิวัติฝรั่งเศส 


          การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นการปฏิวัติใหญ่ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าทางการเมืองทั่วยุโรป โดยมีสาเหตุทางด้านการคลังเป็นพื้นฐาน 
         เป็นการปฏิวัติโดยกลุ่มชนชั้นกลางที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองโดยการล้มล้างการปกครองในระบอบเก่า (Ancient Regime) หรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolutism) มาสู่อำนาจอธิปไตยของประชาชน

รูป พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖
สาเหตุทั่วไปของการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 ประกอบด้วย
ด้านการเมือง          1. พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงไม่เข็มแข็งพอไม่มีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารประเทศจึงเปิดโอกาสให้คณะบุคคลบางกลุ่มเข้ามามีสิทธิร่วมในการบริหารประเทศ
          2. สภาท้องถิ่น (Provincial Estates) เป็นสภาที่มีอยู่ทั่วไปในฝรั่งเศส และตกอยู่ภายใต้อำนาจอิทธิพลของขุนนางท้องถิ่น เริ่มกลับเข้ามามีบทบาทอีกครั้ง
          3. สภาปาลมองต์ (Parlement) หรือศาลสูงสุดของฝรั่งเศส ทำหน้าที่ให้การปรึกษากับกษัตริย์มีสิทธิ์ยังยั้งการออกกฎหมายใหม่ (Vito) ซึ้งเป็นสภาที่เป็นปากเป็นเสียงของประชนเคยถูกปิดไปแล้ว กลับเข้ามามีอำนาจอีกครั้ง พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงยอมให้สภาปามองต์แสดงบทบาทสามารถต่อรองขอสิทธิบางอย่างทางการเมือง 
          4. สภาฐานันดรหรือสภาทั่วไป (Estates General)  ที่จัดตั่งขึ้นในยุคกลางในสมัยพระเจ้าฟิลิปที่ 4 เพื่อต่อต้านอำนาจของสันตปาปา ซึ่งมีผลทำให้เกิดชนชั้นของประชาชน 3 ชนชั้นคือ พระ ขุนนาง และสามัญชน, ในปี ค.ศ. 1789 สถานะทางด้านการคลังของประเทศเกิดปัญหาขาดดุลอย่างหนัง ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เปิดสภานี้ขึ้นมาใหม่หลังจากจากที่ถูกปิดไปถึง 174 ปี เพื่อขอเสียงสนับสนุนจากตัวแทนของประชาชนในการขอเก็บภาษีเพิ่มขึ้น แต่เกิดปัญหาการนับคะแนนเสียงขึ้น จนกลายเป็นชนวนที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติในเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 1789
          5. ประเทศฝรั่งเศสไม่มีรัฐธรรมนูญ ทำให้การปกครองเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และประชาชนไม่ได้รับการคุ้มครอง
ด้านเศรษฐกิจ
          1. สืบเนื่องมาจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ทรงใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยในราชสำนัก เป็นปัญหาสั่งสมมาจนถึงพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 
          2. เป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากการที่ฝรั่งเศสเข้าไปพัวพันกับสงครามในต่างประเทศมากเกินไป โดยเฉพาะสงครามกู้เอกราชของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1776 จึงทำให้เกิดค้าใช้จ่ายสูง
          3. เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจจากภาคเกษตรกรรมมาสู่ภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดวิกฤตการทางการเกษตร ราคาอาหารสูงขึ้นไม่สมดุลกับค่าแรงที่ได้รับ การเปลี่ยนแปลงนี้ก่อให้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นมา คือชนชั้นกลาง (พ่อค้า นายทุน) ซึ่งมีส่วนสำคัญในการปฏิวัติ
          4. พระเจ้าหลุยส์ไม่สามารถตัดค่าใช้จ่ายในราชสำนักได้ แต่ก็พยายามแก้ไขโดย
              - ปรับปรุงการเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ก่อให้เกิดการไม่พอใจในกลุ่มคนบางกลุ่มที่ไม่เคยเสียภาษี
              - เพิ่มการกู้เงิน ซึ่งก็ช่วยทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยมากขึ้นด้วยเช่นกัน
              - ตัดรายจ่ายบางประการ เช่น การเลิกเบี้ยบำนาน ลดจำนวนค่าราชการ ซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ  ยังส่งผลถึงการทำงานของราชการไม่มีประสิทธิภาพ
             การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไม่เป็นผลสำเร็จ เนื่องจากแก้ไขที่ไม่ตรงจุด จึงไม่สามารถตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลงไปได้
ด้านสังคม               1. การรับอิทธิพลทางความคิดของชาวต่างชาติ จาการที่ฝรั่งเศสเข้าไปช่วยสหรัฐอเมริกาทำสงครามประกาศอิสภาพจากอังกฤษ จึงทำให้รับอิทธิพลทางความคิดด้านเสรีภาพนั้นกลับเข้ามาในประเทศด้วย อิทธิพลทางความคิดที่สำคัญที่รับมาคือจากบรรดานักปรัชญากลุ่ม ฟิโลซอฟส์ (Philosophes)  นักปรัชญาคนสำคัญคือ วอร์แตร์, จอห์น ล็อค, รุสโซ่
               2. เกิดปัญหาความแตกต่างทางสังคม อันเนื่องมาจากพลเมืองแบ่งออกเป็น 3 ฐานันดร คือ
                    - ฐานันดรที่ 1 พระ
                    - ฐานันดรที่ 2 ขุนนาง
                    - ฐานันดรที่ 3 สามัญชน
                ฐานันดรที่ 1 และ 2 เป็นกลุ่มที่มีอภิสิทธิ์ชน คือไม่ต้องเสียภาษี ทำให้กลุ่มฐานันดรที่ 3 ต้องแบกรับภาระทั้งหลายอย่างเอาไว้เช่น การเสียภาษี การจ่ายเงินค่าเช่าที่ดิน และการถูกเกณฑ์ไปรบ กลุ่มฐานันดรที่ 3 ถือเป็นกลุ่มไม่มีอภิสิทธิ์ชน
สาเหตุปัจจุบันของการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789
               เมื่อประเทศฝรั่งเศสประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจจนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จึงทรงเปิดประชุมสภาฐานันดร (Estates General) ในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1789 เพื่อขอคะแนนเสียงของตัวแทนของประชาชนทุกกลุ่มช่วยกันแก้ไขปัญหาทางการคลัง  แต่ได้เกิดปัญหาขึ้นเพราะกลุ่มฐานันดรที่ 3 เรียกร้องให้นับคะแนนเสียงเป็นรายหัว แต่กลุ่มฐานันดรที่ 1 และ 2 ซึ่งได้ร่วมมือกันเสมอนั้นเสนอให้นับคะแนนเสียงแบบกลุ่ม  จึงทำให้กลุ่มฐานันดรที่ 3 เดินออกจากสภา แล้วจัดตั้งสภาแห่งชาติ (National Assombly) เรียกร้องให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ปิดห้องประชุม
              ต่อมาวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1789 สภาแห่งชาติได้ย้ายไปประชุมที่สนามเทนนิส และร่วมสาบานว่าจะไม่ยอมแพ้และไม่ยอมแยกจากกันจนกว่าจะได้รับชัยชนะ และต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใช้ในการปกครองประเทศ
ในขณะเดียวกันกับความวุ่นวายได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในปารีส และได้ขยายตัวออกไปทั่วประเทศ  ฝูงชนชาวปารีสได้รับข่าวลือว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กำลังจะส่งกำลังทหารเข้ามาปราบปรามความฝูงชนที่ก่อวุ่นวายในปารีส
              ดังนั้น ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ.1789 ฝูงชนจึงได้ร่วมมือกันทำลายคุกบาสติล(Bastille) ซึ่งเป็นสถานที่คุมขังนักโทษทางการเมือง และถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองในระบอบเก่า
รูปการทำลายคุกบาสติล
ผลจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789
              1. เปลี่ยนจากการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (คนเดียว) มาสู่ระบอบสาธารณรัฐ (หลายตน)
              2. มีการล้มล้างกลุ่มอภิสิทธิชน พระและขุนนางหมดอำนาจ, กลุ่มสามัญชน กรรมกร ชาวนา และโดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นกลาง เข้ามามีอำนาจแทนที่
              3. ศาสนาจักรถูกรวมเข้ากับรัฐ ทำให้อำนาจของสันตะปาปาถูกควบคุมโดยรัฐ
              4. เกิดความวุ่นวายทั่วประเทศเพราะประชนชนบางส่วนยังติดอยู่กับการปรครองแบบเก่า
              5. มีการจับขุนนางประหารด้วยเครื่องกิโยตินมากมาย และที่สำคัญ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ ถูกตัดสินให้ประหารชีวิตเมื่อวันที่ 21 มกราคม 1793 และพระนาง มารี อังตัวเนตต์ ถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยเครื่องกิโยติน ในวันที่ 10 ตุลาคม 1793 เป็นการสิ้นสุดราชวงศ์บลูบลองก์ที่ปกครองฝรั่งเศสมานาน
              6. มีการทำสงครามกับต่างชาติ
              7. มีการขยายอิทธิพลแนวความคิดและเป็นต้นแบบของการปฏิวัติไปยังประเทศอื่น ๆ ในยุโรป
รูปเครื่องประหารกิโยติน (Guillotine)

วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2560

ทักทายชาวต่างชาติยังไงไม่ให้น่าเบื่อนอกเหนือจากคำว่า Hi หรือ Hello

Formal – การทักทายอย่างเป็นทางการ แบบที่ยังไม่สนิท หรือถ้าสนิทแล้วก็ยังพูดได้
  • “Good morning” “Good afternoon” “Good evening” – “สวัสดีตอนเช้า” “สวัสดีตอนกลางวัน” “สวัสดีตอนเย็น”
อันนี้แล้วแต่เวลาที่ทักทาย
  • “It’s nice to meet you.” “It’s a pleasure to meet you.” – “ยินดีที่ได้พบคุณ/ได้เจอคุณ”
มักใช้กับการพบปะกันครั้งแรก แต่ถ้าพบกันในครั้งถัดๆไปแล้ว ก็สามารถเติม “again” ตามหลังประโยคได้ เช่น “It’s nice to meet you again.” “It’s a pleasure to meet you again.”
  • “How do you do.” – “สวัสดี”
  • เป็นการทักทายอย่างเป็นทางการมาก ส่วนใหญ่จะเป็นคนอังกฤษพูดทักทายกัน
    Informal – คำทักทายที่มีความเป็นกันเองขึ้นมาหน่อย ได้แก่
    • “Morning!” – “สวัสดีตอนเช้า”
    เป็นคำย่อมาจาก “Good moning”
    • “How are you” “How are things (with you)?” “What’s new?” – “เป็นอย่างไรบ้าง”
    • ถ้าแปลกันตรงๆก็คือ “เรื่องของคุณเป็นอย่างไรบ้าง” “คุณมีเรื่องราวอะไรใหม่ๆบ้าง” คล้ายๆกับเป็นการอัพเดทชีวิตกันและกัน
      • “It’s good to see you.” – “ดีใจที่ได้พบคุณ”
      มักใช้กันคนที่ไม่ได้เจอมาซักพักนึง
      • “G’day!” ย่อมาจากคำว่า “Good day” – “สวัสดี”
      ประมาณว่า “เป็นวันที่ดีนะ”
      • “Howdy!” – “สวัสดี”
      เป็นคนทักทายโดยเฉพาะคนทางใต้ของอเมริกา
      Casual – คำทักทายที่มีความเป็นกันเองแบบเพื่อนๆคุยกัน
      • “Hey” “Hey there” “Yo!” – “สวัสดี”
      • “What’s up?” (หรือพูดย่อๆว่า “‘Sup?”) “How’s it going?” “What’s happening”
      มีความหมายโดยรวมคือ “เป็นไง” “มีไรบ้าง”
      • “How come I never see you” – “ทำไมไม่ค่อยเห็นคุณเลย”, “It’s been such a long time” – “ไม่ได้เจอกันตั้งนานแหน่ะ”, “Long time no see” – “นานแล้วนะที่ไม่ได้เจอกัน”, “Where have you been hiding” – “คุณหายไปไหนมาเนี่ย”, “It’s been ages since we last met’ – “ครั้งสุดท้ายที่เราเจอกันมันก็นานมากแล้วนะ”












วิธีเลือกใช้แก้วไวน์

วิธีเลือกใช้แก้วไวน์