วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

มารยาทที่ดีบนโต๊ะอาหาร

Les bonnes manières indispensables à table
(เล บอน มานิแยร์ แอ็งดิสป็องซ๊าบ อา ต๊าบเบลอะ)
มารยาทที่ดีและจำเป็นอย่างยิ่งบนโต๊ะอาหาร

Les-bonnes-manières-indispensables-à-table-150x150
1. ไม่ควรทำอะไรบนโต๊ะอาหาร ก่อนเจ้าบ้าน(Hôte)จะทำก่อนเป็นครั้งแรก เช่น เราไม่ควรหยิบช้อนมาเล่นเป็นวงเคาะกะลา หรือนั่งดีดแก้วให้มีเสียงกังวานน่าฟัง เพราะเป็นการกระทำต้องห้ามสำหรับแขก
2. หากเราเป็นแขกหน้าใหม่ ไม่ค่อยทราบธรรมเนียมปฏิบัติ เราก็แค่นั่งรอเงียบๆ ใช้สายตาสังเกตคนข้างๆว่าเขาทำอะไร แล้วก็ทำตามอย่างเขาเลยครับ
3. เวลาทานซุป อย่านำช้อนเข้าปากทั้งช้อนด้วยความยินดีในรสชาติอันแสนเอร็ดอร่อยนะครับ เริ่มตั้งแต่เวลาตักเลย ให้เราตักซุปแบบตักออกจากตัวเอง แล้วค่อยจิบซุปอย่างละเมียดละไมครับ
4. หากไม่แน่ใจว่าจะใช้มือในการหยิบจับอาหาร(จำพวกขนมปัง)ได้ไหม ขอแนะนำให้ใช้ภาชนะบนโต๊ะแทนมือเปล่าจะดีกว่านะครับ
5. คุณต้องไม่วางภาชนะบนผ้าปูโต๊ะหลังจากที่ใช้มันแล้ว เช่น เมื่อใช้ช้อน ส้อม หรือมีดแล้ว ต้องไม่วางบนโต๊ะนะครับ
6. จงตั้งสติให้ดี ถ้าหากเผลอทำสิ่งใดหก หรือคว่ำบนโต๊ะ ต้องไม่เอะอะโวยวายให้แขกท่านอื่นและเจ้าบ้านต้องรำคาญใจ
7. เกลือกับพริกไทยจะอยู่คู่กันตลอดบนโต๊ะ
Du sel (ดู แซ็ล) = เกลือ
Du poivre(ดู ป๊วฟเวรอะ) = พริกไทย
อย่าได้ถามหาซอส น้ำปลาหรือเครื่องปรุงอื่นนะครับ จะเป็นการเสียมรรยาทเพราะเหมือนเป็นการดูถูกในรสชาติอาหาร หากเป็นในร้านอาหารก็จะเท่ากับว่าเป็นการดูถูกเชฟครับ
8. อย่าลืมคำพูดเหล่านี้เด็ดขาด เวลาจะขอความช่วยเหลือและขอบคุณ
S’il vous plaît (ซิล วู เปล) = ได้โปรด = Please
Merci (แมร์ซี่) = ขอบคุณ = Thank you
9. ห้ามใส่น้ำแข็งในแก้วไวน์เพื่อเพิ่มความเย็นฉ่ำเด็ดขาด
10. หากคุณต้องการดื่มไวน์อีก ก็แค่ดื่มในแก้วให้หมด แล้วรอเติมใหม่
แต่ถ้าไม่ต้องการอีก ควรเหลือไวน์ไว้ก้นแก้วเพื่อเป็นการบ่งชี้ว่าไม่รับเพิ่มแล้ว
11. เมื่อทานเสร็จแล้ว วางภาชนะไว้ในแนวขนานบนจาน(ช้อน ส้อม คู่กัน)
12. มือทั้งสองข้างของเราต้องวางให้เห็นบนโต๊ะ ไม่เก็บไว้ใต้โต๊ะแอบเล่นมือถือ
แคะ แกะ หรือเกาอะไรทั้งสิ้น
13. ไม่พูดคุยขณะอาหารเต็มปาก และไม่ทานอาหารเสียงดัง ข้อนี้ก็เหมือนมรรยาทไทยเลยครับ
14. ไม่ควรวางสิ่งของอื่นๆบนโต๊ะ เช่น
(nm.)Portefeuille (ปอร์เตอะเฟย) = กระเป๋าเงิน = Wallet
(nm.)Téléphone portable (เตเลฟอน ปอร์ต๊าบเบลอะ) = โทรศัพท์มือถือ =Mobile telephone
(nf.)Clé (เกล) = กุญแจ = Key
15. หากเป็นผู้หญิง ควรระวังไม่ให้มีรอยลิปสติกติดแก้ว
16. หากอยากทำธุระส่วนตัว เช่น จะไปเข้าห้องน้ำ ให้เอ่ยว่า
Excusez-moi (เอ๊กซ์กูเซ่ มัว) = Excuse me 

สงครามเย็น


  • สงครามเย็นคือภาวะความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศ 2 กลุ่ม ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกันโดยที่กลุ่มหนึ่ง คือ ประเทศเสรีประชาธิปไตย นำโดยสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์นำโดยสหภาพโซเวียต สองมหาอำนาจใหม่นี้ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่างแข่งขันกันเป็นผู้นำโลก โดยไม่ได้มีการปะทะทางทหารโดยตรง แต่ใช้จิตวิทยาการสร้างแสนยานุภาพทางทหารโดยเฉพาะการพัฒนาและสะสมอาวุธนิวเคลียร์ การแข่งขันกันเป็นผู้นำทางอวกาศ การโฆษณาชวนเชื่อ และการแพร่ขยายอุดมการณ์ทางการเมืองของตนไปยังประเทศต่างๆ ผ่านการใช้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ การทหารรวมทั้งสนับสนุนให้ประเทศสัมพันธมิตรทำสงครามตัวแทน
  • ผลของสงครามเย็น
    1. หลายประเทศปรับเปลี่ยนระบบการปกครองและเศรษฐกิจ
      การส่มสลายของสหภาพโซเวียตและการผ่อนคลายในระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ แสดงให้เห็นว่าการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ไม่ประสบความสำเร็จ ถือเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงชัยชนะของระบบทุนนิยม และยังแสดงให้เห็นว่าการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ดีที่สุดในโลกปัจจุบัน
    2. ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
      ผลจากการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอำนาจทำให้โลกมีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน ก่อให้เกิดโลกที่ไร้พรมแดน
  • ประเทศสหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศอภิมหาอำนาจในโลก

เนื้อหา

        เป็นภาวะความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศ 2 กลุ่ม ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกันโดยที่กลุ่มหนึ่ง คือ ประเทศเสรีประชาธิปไตย นำโดยสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์นำโดยสหภาพโซเวียต ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตซึ่งเป็นมหาอำนาจใหม่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่างแข่งขันกันเป็นผู้นำโลก โดยไม่ได้มีการปะทะทางทหารโดยตรง แต่ใช้จิตวิทยาการสร้างแสนยานุภาพทางทหารโดยเฉพาะการพัฒนาและสะสมอาวุธนิวเคลียร์ การแข่งขันกันเป็นผู้นำทางอวกาศ การโฆษณาชวนเชื่อ และการแพร่ขยายอุดมการณ์ทางการเมืองของตนไปยังประเทศต่างๆ ผ่านการใช้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ การทหารรวมทั้งสนับสนุนให้ประเทศสัมพันธมิตรทำสงครามตัวแทน
        สาเหตุของสงครามเย็น
            1.    การเปลี่ยนดุลอำนาจของโล
                   หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศมหาอำนาจในยุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ซึ่งเป็นสมรภูมิสงครามต้องประสบกับความเสียหายอย่างมหาศาลเผชิญกับปัญหาภายหลังสงครามนานัปการ ทำให้มหาอำนาจในยุโรปอ่อนแอลงและสูญเสียความเป็นมหาอำนาจของโลก สูญเสียดินแดนต่างๆ ที่เป็นอาณานิคม ทำให้เกิดประเทศใหม่ๆ มากมาย ประเทศมหาอำนาจที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและทางทหารมั่นคงกว่าประเทศอื่นๆ คือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้กลายเป็นมหาอำนาจของโลกแทน
              2.    อุดมการณ์ทางการเมือง
                      การแข่งชันกันระหว่างลัทธิทางการเมืองแบบสังคมคอมมิวนิสต์ ซึ่งนำโดยสหภาพโซเวียตกับลัทธิทางการเมืองแบบประชาธิปไตยนำโดยสหรัฐอเมริกา
                      ทั้งสองฝ่ายต่างพยายามแข่งขันทางการเมืองมีการแพร่ขยายแนวคิดทางการเมืองไปยังประเทศต่างๆ ทำให้ต่างฝ่ายต่างมีพันธมิตรเข้าร่วมอุดมการณ์เป็นจำนวนมากจึงทำให้เกิดความขัดแย้งและภาวะตึงเครียดทางการเมืองขึ้น กลายเป็นสงครามอุดมการณ์หรือสงครามเย็นขึ้น
                วิกฤตการณ์การปิดกั้นเบอร์ลิน
                ประเทศเยอรมนีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เยอรมนีตะวันออกมีการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียตและเยอรมนีตะวันตกปกครองระบอบประชาธิปไตยภายใต้อิทธิพลของสหรัฐอเมริกา ต่อมารัฐบาลเยอรมนีตะวันออกได้สร้างกำแพงเบอร์ลินกั้นระหว่างประเทศเยอรมนีตะวันออกกับเยอรมนีตะวันตก เพื่อสกัดมิให้ชาวเยอรมนีตะวันออกหลบหนีออกมา
                การจัดตั้งองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศสองกลุ่ม
                องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต เป็นองค์การระหว่างประเทศเพื่อต่อต้านสหภาพโซเวียต
        องค์การวอร์ซอ เพื่อคานอำนาจกับกลุ่มประเทศในองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโตและรักษาอิทธิพลของสหภาพโซเวียต
                สถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
                หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคม ต่างประกาศแยกตัวเป็นเอกราชและขอความช่วยเหลือจากประเทศมหาอำนาจใหม่ ได้แก่ ฝ่ายหนึ่งเข้ากับสหภาพโซเวียตอีกฝ่ายหนึ่งเข้ากับสหรัฐอเมริกา โดยทั้งสองประเทศมหาอำนาจได้พยายามเข้าไปแทรกแซงโดยสนับสนุนกลุ่มต่างๆ
                สถานการณ์ในยุโรป
                กลุ่มประเทศในยุโรปตะวันออกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียต และกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหรัฐอเมริกา ต่อมาสหภาพโซเวียตได้พยายามเข้าแทรกแซงอำนาจในยุโรปตะวันออก เช่น การเข้าไปแทรกแซงสงครามกลางเมืองในกรีซ สหรัฐอเมริกาจึงเข้าไปขัดขวางโดยประธานาธิบดีแฮรรี เอส ทรูแมน ได้ประกาศหลักการทรูแมน ซึ่งประกาศต่อต้านการแทรกแซงของสหภาพโซเวียต
                นอกจากนี้ หลักการทรูแมนยังประกาศที่จะปกป้องและธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของยุโรปให้ดำรงต่อไปและให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและการทหารแก่ยุโรปเพื่อสกัดกั้นการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามแผนการมาร์แชลล์เพื่อฟื้นฟูบูรณะยุโรป และให้เงินช่วยเหลือประเทศต่างๆ ที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ การประกาศหลักการทรูแมนดังกล่าวถือเป็นการประกาศความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตโดยตรง ส่วนสหภาพโซเวียตได้ตั้งสภาความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจหรือโคมิคอน ขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศยุโรปตะวันออกและตอบโต้สหรัฐอเมริกา
        สถานการณ์ในเอเชีย
                จีน
                จีนแบ่งแยกออกเป็น 2 ประเทศ โดยฝ่ายคอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตุงได้มีชัยชนะเหนือพรรคกว๋อมินตั๋ง จึงได้สถาปนาประเทศให้มีการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยสหภาพโซเวียตและประเทศในยุโรปตะวันออกให้การรับรอง ส่วนพรรคกว๋อมินตั๋งภายใต้การนำของเจียง ไคเช็คได้ไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่เกาะไต้หวันเรียกสาธารณรัฐจีนโดยสหรัฐอเมริกากับพันธมิตรให้การรับรองและได้เป็นสมาชิกถาวรของสหประชาชาติ
                เกาหลี
                ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เกาหลีเหนือ ภายใต้การสนับสนุนของสหภาพโซเวียตและจีน และเกาหลีใต้ภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาทั้งสองประเทศจึงมีความขัดแย้งด้านอุมดมการณ์ทางการเมือง
                เวียดนาม
                ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือเวียดนามเหนือที่เป็นคอมมิวนิสต์ ได้รับความสนับสนุนจากจีนและสหภาพโซเวียต เวียดนามใต้ที่เป็นประชาธิปไตยได้รับความสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร สงครามเวียดนามจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของสหรัฐอเมริกา เป็นผลให้เวียดนามสามารถรวมเป็นประเทศเดียวกันจนถึงปัจจุบัน
                การแข่งขันกันทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการเพิ่มแสนยานุภาพทางทหาร
                ในช่วงสงครามเย็นสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตต่างแข่งขันกันทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โครงการวิจัยและพัฒนาทางด้านการสำรวจอวกาศ อาวุธยุทโธปกรณ์ อาวุธนิวเคลียร์และโครงการทางทหาร เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากเพื่อแสดงแสนยานุภาพแต่ละฝ่าย
                ค.ศ. 1949 สหภาพโซเวียตทดลองนิวเคลียร์สำเร็จทำให้มีศักยภาพทัดเทียมสหรัฐอเมริกาทั้งสองฝ่ายจึงเร่งแข่งขันกันพัฒนาศักยภาพทางทหารเพิ่มขึ้น
                ค.ศ. 1957 สหภาพโซเวียตสามารถส่งดาวเทียมสปุตนิก 1 และสปุตนิก 2 พร้อมสุนัขชื่อไลกาไปสู่อวกาศและโคจรรอบโลกได้สำเร็จ
                ค.ศ. 1962 สหภาพโซเวียตสร้างฐานขีปนาวุธที่ประเทศคิวบา ซึ่งเป็นการคุกคามสหรัฐอเมริกาโดยตรง สหรัฐอเมริกาจึงประกาศปิดล้อมคิวบาและประกาศจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ตอบโต้ สหภาพโซเวียตจึงยอมถอนขีปนาวุธออกจากคิวบา
                การผ่อนคลายความตึงเครียดในสงครามเย็น
                การผ่อนคลายความตึงเครียดในสงครามเย็น เกิดขึ้นเนื่องจากความหวั่นวิตกของนานาชาติว่าความขัดแย้งต่างๆ จะนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์เพราะนอกจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตแล้ว หลายประเทศก็ได้มีการทดลองและสะสมอาวุธนิวเคลียร์กันด้วย ดังนั้นประเทศมหาอำนาจ เช่น สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตจึงได้ปรับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยการร่วมกันเจรจาเพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกัน
                การสิ้นสุดสงครามเย็น
                เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสหภาพโซเวียต ในสมัยมีฮาอิล กอร์บาชอฟ ขึ้นเป็นผู้นำสหภาพโซเวียต โดยได้ประกาศนโยบายปรับปรุงเศรษฐกิจและสังคมของสหภาพโซเวียตที่เรียกว่า นโยบายเปิด-ปรับ เพื่อปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจและสังคมให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น นอกจากนี้สหภาพโซเวียตยังเปิดความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานและประกาศไม่แทรกแซงการเมืองภายในยุโรปตะวันออก เป็นผลให้ประเทศที่เคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลสหภาพโซเวียตเรียกร้องการปกครองตนเองและแยกประเทศออกจากสหภาพโซเวียต โดยสหภาพโซเวียตมิได้ส่งทหารเข้าปราบปราม จึงเป็นผลให้สหภาพโซเวียตล่มสลายและถือเป็นการสิ้นสุดสงครามเย็น
                ผลของสงครามเย็น
                  1.    ประเทศต่างๆ ปรับระบบการปกครองและเศรษฐกิจใหม่
                         ความส่มสลายของสหภาพโซเวียตและการผ่อนคลายในระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ แสดงให้เห็นว่าการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ไม่ประสบความสำเร็จ ถือเป็นชัยชนะของระบบทุนนิยม และเห็นว่าการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ดีที่สุดในโลกปัจจุบัน
                    2.    ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                           ผลจากการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอำนาจทำให้โลกมีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน ก่อให้เกิดโลกที่ไร้พรมแดนที่ประเทศต่างๆ ได้หันมาร่วมมือกันมากขึ้น
                      3.    ประเทศสหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศอภิมหาอำนาจในโลก
                             การขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ทำให้ประเทศต่างๆ เข้าไปผูกพันกับสหรัฐอเมริกามากยิ่งขึ้น สหรัฐอเมริกาจึงเป็นประเทศที่มีอำนาจมากทั้งด้านการเมือง การทหารและเศรษฐกิจ ไม่มีประเทศใดทัดเทียม