วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

มารยาทที่ดีบนโต๊ะอาหาร

Les bonnes manières indispensables à table
(เล บอน มานิแยร์ แอ็งดิสป็องซ๊าบ อา ต๊าบเบลอะ)
มารยาทที่ดีและจำเป็นอย่างยิ่งบนโต๊ะอาหาร

Les-bonnes-manières-indispensables-à-table-150x150
1. ไม่ควรทำอะไรบนโต๊ะอาหาร ก่อนเจ้าบ้าน(Hôte)จะทำก่อนเป็นครั้งแรก เช่น เราไม่ควรหยิบช้อนมาเล่นเป็นวงเคาะกะลา หรือนั่งดีดแก้วให้มีเสียงกังวานน่าฟัง เพราะเป็นการกระทำต้องห้ามสำหรับแขก
2. หากเราเป็นแขกหน้าใหม่ ไม่ค่อยทราบธรรมเนียมปฏิบัติ เราก็แค่นั่งรอเงียบๆ ใช้สายตาสังเกตคนข้างๆว่าเขาทำอะไร แล้วก็ทำตามอย่างเขาเลยครับ
3. เวลาทานซุป อย่านำช้อนเข้าปากทั้งช้อนด้วยความยินดีในรสชาติอันแสนเอร็ดอร่อยนะครับ เริ่มตั้งแต่เวลาตักเลย ให้เราตักซุปแบบตักออกจากตัวเอง แล้วค่อยจิบซุปอย่างละเมียดละไมครับ
4. หากไม่แน่ใจว่าจะใช้มือในการหยิบจับอาหาร(จำพวกขนมปัง)ได้ไหม ขอแนะนำให้ใช้ภาชนะบนโต๊ะแทนมือเปล่าจะดีกว่านะครับ
5. คุณต้องไม่วางภาชนะบนผ้าปูโต๊ะหลังจากที่ใช้มันแล้ว เช่น เมื่อใช้ช้อน ส้อม หรือมีดแล้ว ต้องไม่วางบนโต๊ะนะครับ
6. จงตั้งสติให้ดี ถ้าหากเผลอทำสิ่งใดหก หรือคว่ำบนโต๊ะ ต้องไม่เอะอะโวยวายให้แขกท่านอื่นและเจ้าบ้านต้องรำคาญใจ
7. เกลือกับพริกไทยจะอยู่คู่กันตลอดบนโต๊ะ
Du sel (ดู แซ็ล) = เกลือ
Du poivre(ดู ป๊วฟเวรอะ) = พริกไทย
อย่าได้ถามหาซอส น้ำปลาหรือเครื่องปรุงอื่นนะครับ จะเป็นการเสียมรรยาทเพราะเหมือนเป็นการดูถูกในรสชาติอาหาร หากเป็นในร้านอาหารก็จะเท่ากับว่าเป็นการดูถูกเชฟครับ
8. อย่าลืมคำพูดเหล่านี้เด็ดขาด เวลาจะขอความช่วยเหลือและขอบคุณ
S’il vous plaît (ซิล วู เปล) = ได้โปรด = Please
Merci (แมร์ซี่) = ขอบคุณ = Thank you
9. ห้ามใส่น้ำแข็งในแก้วไวน์เพื่อเพิ่มความเย็นฉ่ำเด็ดขาด
10. หากคุณต้องการดื่มไวน์อีก ก็แค่ดื่มในแก้วให้หมด แล้วรอเติมใหม่
แต่ถ้าไม่ต้องการอีก ควรเหลือไวน์ไว้ก้นแก้วเพื่อเป็นการบ่งชี้ว่าไม่รับเพิ่มแล้ว
11. เมื่อทานเสร็จแล้ว วางภาชนะไว้ในแนวขนานบนจาน(ช้อน ส้อม คู่กัน)
12. มือทั้งสองข้างของเราต้องวางให้เห็นบนโต๊ะ ไม่เก็บไว้ใต้โต๊ะแอบเล่นมือถือ
แคะ แกะ หรือเกาอะไรทั้งสิ้น
13. ไม่พูดคุยขณะอาหารเต็มปาก และไม่ทานอาหารเสียงดัง ข้อนี้ก็เหมือนมรรยาทไทยเลยครับ
14. ไม่ควรวางสิ่งของอื่นๆบนโต๊ะ เช่น
(nm.)Portefeuille (ปอร์เตอะเฟย) = กระเป๋าเงิน = Wallet
(nm.)Téléphone portable (เตเลฟอน ปอร์ต๊าบเบลอะ) = โทรศัพท์มือถือ =Mobile telephone
(nf.)Clé (เกล) = กุญแจ = Key
15. หากเป็นผู้หญิง ควรระวังไม่ให้มีรอยลิปสติกติดแก้ว
16. หากอยากทำธุระส่วนตัว เช่น จะไปเข้าห้องน้ำ ให้เอ่ยว่า
Excusez-moi (เอ๊กซ์กูเซ่ มัว) = Excuse me 

สงครามเย็น


  • สงครามเย็นคือภาวะความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศ 2 กลุ่ม ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกันโดยที่กลุ่มหนึ่ง คือ ประเทศเสรีประชาธิปไตย นำโดยสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์นำโดยสหภาพโซเวียต สองมหาอำนาจใหม่นี้ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่างแข่งขันกันเป็นผู้นำโลก โดยไม่ได้มีการปะทะทางทหารโดยตรง แต่ใช้จิตวิทยาการสร้างแสนยานุภาพทางทหารโดยเฉพาะการพัฒนาและสะสมอาวุธนิวเคลียร์ การแข่งขันกันเป็นผู้นำทางอวกาศ การโฆษณาชวนเชื่อ และการแพร่ขยายอุดมการณ์ทางการเมืองของตนไปยังประเทศต่างๆ ผ่านการใช้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ การทหารรวมทั้งสนับสนุนให้ประเทศสัมพันธมิตรทำสงครามตัวแทน
  • ผลของสงครามเย็น
    1. หลายประเทศปรับเปลี่ยนระบบการปกครองและเศรษฐกิจ
      การส่มสลายของสหภาพโซเวียตและการผ่อนคลายในระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ แสดงให้เห็นว่าการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ไม่ประสบความสำเร็จ ถือเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงชัยชนะของระบบทุนนิยม และยังแสดงให้เห็นว่าการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ดีที่สุดในโลกปัจจุบัน
    2. ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
      ผลจากการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอำนาจทำให้โลกมีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน ก่อให้เกิดโลกที่ไร้พรมแดน
  • ประเทศสหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศอภิมหาอำนาจในโลก

เนื้อหา

        เป็นภาวะความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศ 2 กลุ่ม ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกันโดยที่กลุ่มหนึ่ง คือ ประเทศเสรีประชาธิปไตย นำโดยสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์นำโดยสหภาพโซเวียต ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตซึ่งเป็นมหาอำนาจใหม่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่างแข่งขันกันเป็นผู้นำโลก โดยไม่ได้มีการปะทะทางทหารโดยตรง แต่ใช้จิตวิทยาการสร้างแสนยานุภาพทางทหารโดยเฉพาะการพัฒนาและสะสมอาวุธนิวเคลียร์ การแข่งขันกันเป็นผู้นำทางอวกาศ การโฆษณาชวนเชื่อ และการแพร่ขยายอุดมการณ์ทางการเมืองของตนไปยังประเทศต่างๆ ผ่านการใช้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ การทหารรวมทั้งสนับสนุนให้ประเทศสัมพันธมิตรทำสงครามตัวแทน
        สาเหตุของสงครามเย็น
            1.    การเปลี่ยนดุลอำนาจของโล
                   หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศมหาอำนาจในยุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ซึ่งเป็นสมรภูมิสงครามต้องประสบกับความเสียหายอย่างมหาศาลเผชิญกับปัญหาภายหลังสงครามนานัปการ ทำให้มหาอำนาจในยุโรปอ่อนแอลงและสูญเสียความเป็นมหาอำนาจของโลก สูญเสียดินแดนต่างๆ ที่เป็นอาณานิคม ทำให้เกิดประเทศใหม่ๆ มากมาย ประเทศมหาอำนาจที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและทางทหารมั่นคงกว่าประเทศอื่นๆ คือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้กลายเป็นมหาอำนาจของโลกแทน
              2.    อุดมการณ์ทางการเมือง
                      การแข่งชันกันระหว่างลัทธิทางการเมืองแบบสังคมคอมมิวนิสต์ ซึ่งนำโดยสหภาพโซเวียตกับลัทธิทางการเมืองแบบประชาธิปไตยนำโดยสหรัฐอเมริกา
                      ทั้งสองฝ่ายต่างพยายามแข่งขันทางการเมืองมีการแพร่ขยายแนวคิดทางการเมืองไปยังประเทศต่างๆ ทำให้ต่างฝ่ายต่างมีพันธมิตรเข้าร่วมอุดมการณ์เป็นจำนวนมากจึงทำให้เกิดความขัดแย้งและภาวะตึงเครียดทางการเมืองขึ้น กลายเป็นสงครามอุดมการณ์หรือสงครามเย็นขึ้น
                วิกฤตการณ์การปิดกั้นเบอร์ลิน
                ประเทศเยอรมนีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เยอรมนีตะวันออกมีการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียตและเยอรมนีตะวันตกปกครองระบอบประชาธิปไตยภายใต้อิทธิพลของสหรัฐอเมริกา ต่อมารัฐบาลเยอรมนีตะวันออกได้สร้างกำแพงเบอร์ลินกั้นระหว่างประเทศเยอรมนีตะวันออกกับเยอรมนีตะวันตก เพื่อสกัดมิให้ชาวเยอรมนีตะวันออกหลบหนีออกมา
                การจัดตั้งองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศสองกลุ่ม
                องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต เป็นองค์การระหว่างประเทศเพื่อต่อต้านสหภาพโซเวียต
        องค์การวอร์ซอ เพื่อคานอำนาจกับกลุ่มประเทศในองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโตและรักษาอิทธิพลของสหภาพโซเวียต
                สถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
                หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคม ต่างประกาศแยกตัวเป็นเอกราชและขอความช่วยเหลือจากประเทศมหาอำนาจใหม่ ได้แก่ ฝ่ายหนึ่งเข้ากับสหภาพโซเวียตอีกฝ่ายหนึ่งเข้ากับสหรัฐอเมริกา โดยทั้งสองประเทศมหาอำนาจได้พยายามเข้าไปแทรกแซงโดยสนับสนุนกลุ่มต่างๆ
                สถานการณ์ในยุโรป
                กลุ่มประเทศในยุโรปตะวันออกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียต และกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหรัฐอเมริกา ต่อมาสหภาพโซเวียตได้พยายามเข้าแทรกแซงอำนาจในยุโรปตะวันออก เช่น การเข้าไปแทรกแซงสงครามกลางเมืองในกรีซ สหรัฐอเมริกาจึงเข้าไปขัดขวางโดยประธานาธิบดีแฮรรี เอส ทรูแมน ได้ประกาศหลักการทรูแมน ซึ่งประกาศต่อต้านการแทรกแซงของสหภาพโซเวียต
                นอกจากนี้ หลักการทรูแมนยังประกาศที่จะปกป้องและธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของยุโรปให้ดำรงต่อไปและให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและการทหารแก่ยุโรปเพื่อสกัดกั้นการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามแผนการมาร์แชลล์เพื่อฟื้นฟูบูรณะยุโรป และให้เงินช่วยเหลือประเทศต่างๆ ที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ การประกาศหลักการทรูแมนดังกล่าวถือเป็นการประกาศความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตโดยตรง ส่วนสหภาพโซเวียตได้ตั้งสภาความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจหรือโคมิคอน ขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศยุโรปตะวันออกและตอบโต้สหรัฐอเมริกา
        สถานการณ์ในเอเชีย
                จีน
                จีนแบ่งแยกออกเป็น 2 ประเทศ โดยฝ่ายคอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตุงได้มีชัยชนะเหนือพรรคกว๋อมินตั๋ง จึงได้สถาปนาประเทศให้มีการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยสหภาพโซเวียตและประเทศในยุโรปตะวันออกให้การรับรอง ส่วนพรรคกว๋อมินตั๋งภายใต้การนำของเจียง ไคเช็คได้ไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่เกาะไต้หวันเรียกสาธารณรัฐจีนโดยสหรัฐอเมริกากับพันธมิตรให้การรับรองและได้เป็นสมาชิกถาวรของสหประชาชาติ
                เกาหลี
                ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เกาหลีเหนือ ภายใต้การสนับสนุนของสหภาพโซเวียตและจีน และเกาหลีใต้ภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาทั้งสองประเทศจึงมีความขัดแย้งด้านอุมดมการณ์ทางการเมือง
                เวียดนาม
                ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือเวียดนามเหนือที่เป็นคอมมิวนิสต์ ได้รับความสนับสนุนจากจีนและสหภาพโซเวียต เวียดนามใต้ที่เป็นประชาธิปไตยได้รับความสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร สงครามเวียดนามจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของสหรัฐอเมริกา เป็นผลให้เวียดนามสามารถรวมเป็นประเทศเดียวกันจนถึงปัจจุบัน
                การแข่งขันกันทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการเพิ่มแสนยานุภาพทางทหาร
                ในช่วงสงครามเย็นสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตต่างแข่งขันกันทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โครงการวิจัยและพัฒนาทางด้านการสำรวจอวกาศ อาวุธยุทโธปกรณ์ อาวุธนิวเคลียร์และโครงการทางทหาร เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากเพื่อแสดงแสนยานุภาพแต่ละฝ่าย
                ค.ศ. 1949 สหภาพโซเวียตทดลองนิวเคลียร์สำเร็จทำให้มีศักยภาพทัดเทียมสหรัฐอเมริกาทั้งสองฝ่ายจึงเร่งแข่งขันกันพัฒนาศักยภาพทางทหารเพิ่มขึ้น
                ค.ศ. 1957 สหภาพโซเวียตสามารถส่งดาวเทียมสปุตนิก 1 และสปุตนิก 2 พร้อมสุนัขชื่อไลกาไปสู่อวกาศและโคจรรอบโลกได้สำเร็จ
                ค.ศ. 1962 สหภาพโซเวียตสร้างฐานขีปนาวุธที่ประเทศคิวบา ซึ่งเป็นการคุกคามสหรัฐอเมริกาโดยตรง สหรัฐอเมริกาจึงประกาศปิดล้อมคิวบาและประกาศจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ตอบโต้ สหภาพโซเวียตจึงยอมถอนขีปนาวุธออกจากคิวบา
                การผ่อนคลายความตึงเครียดในสงครามเย็น
                การผ่อนคลายความตึงเครียดในสงครามเย็น เกิดขึ้นเนื่องจากความหวั่นวิตกของนานาชาติว่าความขัดแย้งต่างๆ จะนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์เพราะนอกจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตแล้ว หลายประเทศก็ได้มีการทดลองและสะสมอาวุธนิวเคลียร์กันด้วย ดังนั้นประเทศมหาอำนาจ เช่น สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตจึงได้ปรับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยการร่วมกันเจรจาเพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกัน
                การสิ้นสุดสงครามเย็น
                เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสหภาพโซเวียต ในสมัยมีฮาอิล กอร์บาชอฟ ขึ้นเป็นผู้นำสหภาพโซเวียต โดยได้ประกาศนโยบายปรับปรุงเศรษฐกิจและสังคมของสหภาพโซเวียตที่เรียกว่า นโยบายเปิด-ปรับ เพื่อปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจและสังคมให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น นอกจากนี้สหภาพโซเวียตยังเปิดความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานและประกาศไม่แทรกแซงการเมืองภายในยุโรปตะวันออก เป็นผลให้ประเทศที่เคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลสหภาพโซเวียตเรียกร้องการปกครองตนเองและแยกประเทศออกจากสหภาพโซเวียต โดยสหภาพโซเวียตมิได้ส่งทหารเข้าปราบปราม จึงเป็นผลให้สหภาพโซเวียตล่มสลายและถือเป็นการสิ้นสุดสงครามเย็น
                ผลของสงครามเย็น
                  1.    ประเทศต่างๆ ปรับระบบการปกครองและเศรษฐกิจใหม่
                         ความส่มสลายของสหภาพโซเวียตและการผ่อนคลายในระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ แสดงให้เห็นว่าการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ไม่ประสบความสำเร็จ ถือเป็นชัยชนะของระบบทุนนิยม และเห็นว่าการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ดีที่สุดในโลกปัจจุบัน
                    2.    ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                           ผลจากการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอำนาจทำให้โลกมีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน ก่อให้เกิดโลกที่ไร้พรมแดนที่ประเทศต่างๆ ได้หันมาร่วมมือกันมากขึ้น
                      3.    ประเทศสหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศอภิมหาอำนาจในโลก
                             การขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ทำให้ประเทศต่างๆ เข้าไปผูกพันกับสหรัฐอเมริกามากยิ่งขึ้น สหรัฐอเมริกาจึงเป็นประเทศที่มีอำนาจมากทั้งด้านการเมือง การทหารและเศรษฐกิจ ไม่มีประเทศใดทัดเทียม

              วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2561

              อาหารขึ้นชื่อของฝรั่งเศส

              ครัวซอง ( croissant) คือขนมอบชนิดหนึ่งที่กรอบ ชุ่มเนย และโดยทั่วไปจะมีลักษณะโค้งอันเป็นที่มาของชื่อ “croissant” ซึ่งในภาษาฝรั่งเศสหมายถึง “จันทร์เสี้ยว” บางทีก็ถูกเรียกว่า crescent roll (โรลจันทร์เสี้ยว)การทำครัวซองค์จะต้องใช้แป้งพายชั้น (puff pastry – พัฟ เพสทรี่) ที่ผสมยีสต์ นำมารีดให้เป็นแผ่น วางชั้นของเนยลงไป พับและรีดให้เป็นแผ่นซ้ำไปมา ตัดเป็นแผ่นสามเหลี่ยม นำไปม้วนจากด้านกว้างไปด้านแหลม บิดปลายให้โค้งเข้าหากัน อบโดยใช้ไฟแรงให้เนยที่แทรกอยู่เป็นชั้นดันแป้งให้ฟูก่อน จึงค่อยลดไฟลงไม่ให้ไหม้

              มดิเตอเรเนียนคีช
              คีช ( quiche) เป็นอาหารจานอบชนิดหนึ่งโดยมีส่วนประกอบหลักคือ ไข่ นม หรือ ครีม ถึงแม้ว่าคีชจะมีลักษณะคล้ายพายแต่คีชถูกจัดเป็นอาหารคาว โดยในคีชอาจมีส่วนประกอบอื่นเช่น เนื้อสัตว์ ผัก เนยแข็ง ได้
              ถึงแม้ว่าคีชจะมีส่วนประกอบหลายอย่างคล้ายอาหารประเภทพาสตา แต่ไม่ถูกจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของพาสตา
              ขนมปังฝรั่งเศส
              บาเกต ( baguette) หรือ ขนมปังฝรั่งเศส เป็นขนมปังมีลักษณะรูปทรงเป็นแท่งยาวขนาดใหญ่ เปลือกนอกแข็งกรอบ เนื้อในนุ่มเหนียว และเป็นโพรงอากาศ มักนำมาหั่นเฉียงเป็นแผ่นหนา เพื่อรับประทานกับซุป ปาดเนยสด หรือประกอบทำเป็นแซนด์วิช
              ปาเตหลายหลายชนิดคู่กับแตร์รีน
              ปาเต ( pâté) เป็นอาหารยุโรปประเภทหนึ่ง ในภาษาฝรั่งเศสหมายถึงเนื้อบดผสมไขมัน ปาเตโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นซอสสำหรับทา ทำจากเนื้อบดละเอียดหรือส่วนผสมของเนื้อและตับบดหยาบ ๆ และมักผสมไขมัน ผัก สมุนไพร เครื่องเทศ หรือไวน์ เป็นต้น
              ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศเบลเยียม ปาเตอาจใช้เป็นไส้พายหรือขนมปังแถว เรียก “ปาเตอ็องกรูต” (ฝรั่งเศส: pâté en croûte) หรือใช้อบด้วยแตร์รีนหรือแม่พิมพ์แบบอื่น เรียก “ปาเตอ็องแตร์รีน” (ฝรั่งเศส: pâté en terrine) ปาเตประเภทที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ “ปาเตเดอฟัวกราส์” (ฝรั่งเศส: pâté de foie gras) ทำจากตับของห่านที่ขุนจนอ้วน คำว่า “ฟัวกราส์อองตีเยร์” (ฝรั่งเศส: foie gras entier) หมายถึง ตับห่านธรรมดาที่ได้รับการปรุงสุกและหั่นเป็นแผ่น ไม่ใช่ปาเต
              ส่วนในประเทศฮอลแลนด์ ประเทศเยอรมนี ประเทศฟินแลนด์ ประเทศฮังการี ประเทศสวีเดน และประเทศออสเตรีย ปาเตที่ทำจากตับบางชนิดจะมีลักษณะอ่อนยวบ โดยมากเป็นไส้กรอกที่ใช้ทาได้ ภาษาดัตช์เรียก “leverworst” ภาษาเยอรมันเรียก “leberwurst”
              ฟัวกรา เสิร์ฟแบบปิกนิกพร้อมขนมปัง
              ฟัวกรา ( Foie gras ) แปลเทียบเคียงว่า fat liver คือตับห่านหรือเป็ดที่ถูกเลี้ยงให้อ้วนเกิน ฟัวกราได้ชื่อว่าเป็นอาหารฝรั่งเศสที่ดีที่สุด เช่นเดียวกับทรัฟเฟิล มีลักษณะนุ่มมันและมีรสชาติที่แตกต่างจากตับของเป็ดหรือห่านธรรมดา
              ใน พ.ศ. 2548 ทั่วโลกมีการผลิตฟัวกราประมาณ 23,500 ตัน ในจำนวนนี้ ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้ผลิตมากที่สุดคือ 18,450 ตัน หรือร้อยละ 75 ของทั้งหมด โดยร้อยละ 96 ของฟัวกราจากฝรั่งเศสมาจากตับเป็ด และร้อยละ 4 มาจากตับห่าน ประเทศฝรั่งเศสบริโภคฟัวกราใน พ.ศ. 2548 เป็นจำนวน 19,000 ตัน
              ประเทศฮังการีผลิตฟัวกรามากเป็นอันดับสอง และส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ 1,920 ตันใน พ.ศ. 2548 โดยเกือบทั้งหมดส่งออกไปที่ฝรั่งเศส

              ชามที่มีราทาทุยและขนมปังเคียงข้าง
              ราทาทุย ( Ratatouille ) เป็นอาหารพื้นเมืองของฝรั่งเศส ในเขต Provençal โดยมีลักษณะเป็นสตูว์ผัก มีต้นกำเนิดมาจากเมือง Nice ทานตอนใต้ของฝรั่งเศส อาหารชนิดนี้มีชื่อเต็มว่า ratatouille niçoise
              รูปแบบของอาหาร
              คำว่า ratatouille มาจากภาษาอ็อกซิตันว่า “ratatolha” ราทาทุยปัจจุบันพบเห็นได้ที่ Occitan Provença และ Niça โดยมักจะทำในหน้าร้อนโดยใช้ผักในฤดูร้อน Ratatolha de Niça สูตรดั้งเดิมนั้นจะใช้เพียงแค่ ซุชีนี่, มะเขือเทศ, พริกหยวกแดงและเขียว, หัวหอม, และกระเทียม ราทาทุยในปัจจุบันจะมีการใส่มะเขือลงไปในส่วนผสมด้วย

              วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560

              ประวัติครัวซองต์

              ใคร ๆ ก็คิดว่า ครัวซองต์ (Croissant) น่าจะมีจุดกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส แต่เปล่าเลย ขนมอร่อย ๆ ชิ้นนี้มีที่มาจากไหน ใครเป็นคนคิด ต้องตามมาดู
                        ครัวซองต์ (Croissant) หรือขนมอบที่ใช้แป้งพายชั้นมา เป็นส่วนผสมในการทำ ที่คนส่วนใหญ่อาจคิดว่า มีต้นกำเนิดมาจากประเทศฝรั่งเศส เพราะคำว่า Croissant นั้นเป็นภาษาฝรั่งเศส ซึ่งหมายถึงพระจันทร์เสี้ยว ทำให้ลักษณะรูปร่างของขนมครัวซองต์นั้นเหมือนกับพระจันทร์เสี้ยวนั่นเอง และแท้ที่จริงแล้วครัวซองต์นั้นไม่ได้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศฝรั่งเศสแต่อย่างใดแต่ต้นกำเนิดที่แท้จริงของขนมชนิดนี้มาจากที่ไหน วันนี้กระปุกดอทคอมมีคำตอบให้คุณค่ะ

                        จากเรื่องราวในประวัติศาสตร์เชื่อกันว่า ครัวซองต์มีต้นกำเนิดมาจากประเทศออสเตรีย โดยเรื่องราวของครัวซองต์ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 17 หรือราว ๆ ปี 1683 ได้เกิดสงครามสู้รบระหว่างชาวเติร์กและชาวออสเตรีย โดยชาวเติร์กได้ส่งกองทัพมาล้อมกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เป็นเวลานานแรมเดือนแต่ก็ยังไม่สามารถตีผ่านกำแพงเมืองเข้าไปได้ ทำให้ทหารชาวเติร์กคิดจะขุดอุโมงค์เพื่อโจมตี แต่ระหว่างที่ขุดอุโมงค์นั้น คนทำขนมปังที่อยู่เวรดึกเกิดได้ยินเสียงจึงไปเตือนทหารชาวออสเตรียทำให้รักษากรุงเวียนนาเอาไว้ได้ และต่อมาสามารถขับไล่กองทัพชาวเติร์กออกไป ซึ่งชัยชนะที่ได้รับทำให้มีการเฉลิมฉลองและมีการทำขนมปังรูปพระจันทร์เสี้ยวซึ่งเป็นธงสัญลักษณ์ของพวกชาวเติร์ก และนี่เองก็คือจุดกำเนิดของขนมครัวซองต์

                        แต่ก็มีอีกเรื่องราวหนึ่งที่แตกต่างกันออกไปได้เล่าไว้ก็คือ เจ้าหญิงมารี อังตัวแนต (Marie Antoinette) แห่งประเทศออสเตรียได้เสด็จอภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และได้ย้ายมาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส ด้วยความที่ไม่คุ้นเคยกับอาหารของชาวฝรั่งเศส รวมถึงคิดถึงอาหารประเทศของตน เจ้าหญิงมารีเลยให้พ่อครัวทำขนมครัวซองต์ขึ้นมา และนี่เองก็เป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมครัวซองต์ถึงกลายเป็นขนมที่นิยมในประเทศฝรั่งเศสจนมาถึงปัจจุบันนี้

                        แต่อย่างไรก็ตามต้นกำเนิดของครัวซองต์นั้นไม่ได้มีหลักฐานระบุไว้แน่ชัดและมีเรื่องเล่าที่แตกต่างกันออกไปมากมาย บ้างก็ว่าต้นกำเนิดมาจากประเทศออสเตรีย ประเทศฮังการีบ้าง ประเทศโรมาเนียบ้าง แต่ไม่ว่าจะมีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใดก็ตาม ขนมครัวซองต์ก็ได้กลายเป็นขนมสุดโปรดยอดนิยมของคนทั่วโลกไปโดยปริยาย

              ปฏิวัติฝรั่งเศส

              ปฏิวัติฝรั่งเศส 


                        การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นการปฏิวัติใหญ่ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าทางการเมืองทั่วยุโรป โดยมีสาเหตุทางด้านการคลังเป็นพื้นฐาน 
                       เป็นการปฏิวัติโดยกลุ่มชนชั้นกลางที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองโดยการล้มล้างการปกครองในระบอบเก่า (Ancient Regime) หรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolutism) มาสู่อำนาจอธิปไตยของประชาชน

              รูป พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖
              สาเหตุทั่วไปของการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 ประกอบด้วย
              ด้านการเมือง          1. พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงไม่เข็มแข็งพอไม่มีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารประเทศจึงเปิดโอกาสให้คณะบุคคลบางกลุ่มเข้ามามีสิทธิร่วมในการบริหารประเทศ
                        2. สภาท้องถิ่น (Provincial Estates) เป็นสภาที่มีอยู่ทั่วไปในฝรั่งเศส และตกอยู่ภายใต้อำนาจอิทธิพลของขุนนางท้องถิ่น เริ่มกลับเข้ามามีบทบาทอีกครั้ง
                        3. สภาปาลมองต์ (Parlement) หรือศาลสูงสุดของฝรั่งเศส ทำหน้าที่ให้การปรึกษากับกษัตริย์มีสิทธิ์ยังยั้งการออกกฎหมายใหม่ (Vito) ซึ้งเป็นสภาที่เป็นปากเป็นเสียงของประชนเคยถูกปิดไปแล้ว กลับเข้ามามีอำนาจอีกครั้ง พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงยอมให้สภาปามองต์แสดงบทบาทสามารถต่อรองขอสิทธิบางอย่างทางการเมือง 
                        4. สภาฐานันดรหรือสภาทั่วไป (Estates General)  ที่จัดตั่งขึ้นในยุคกลางในสมัยพระเจ้าฟิลิปที่ 4 เพื่อต่อต้านอำนาจของสันตปาปา ซึ่งมีผลทำให้เกิดชนชั้นของประชาชน 3 ชนชั้นคือ พระ ขุนนาง และสามัญชน, ในปี ค.ศ. 1789 สถานะทางด้านการคลังของประเทศเกิดปัญหาขาดดุลอย่างหนัง ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เปิดสภานี้ขึ้นมาใหม่หลังจากจากที่ถูกปิดไปถึง 174 ปี เพื่อขอเสียงสนับสนุนจากตัวแทนของประชาชนในการขอเก็บภาษีเพิ่มขึ้น แต่เกิดปัญหาการนับคะแนนเสียงขึ้น จนกลายเป็นชนวนที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติในเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 1789
                        5. ประเทศฝรั่งเศสไม่มีรัฐธรรมนูญ ทำให้การปกครองเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และประชาชนไม่ได้รับการคุ้มครอง
              ด้านเศรษฐกิจ
                        1. สืบเนื่องมาจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ทรงใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยในราชสำนัก เป็นปัญหาสั่งสมมาจนถึงพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 
                        2. เป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากการที่ฝรั่งเศสเข้าไปพัวพันกับสงครามในต่างประเทศมากเกินไป โดยเฉพาะสงครามกู้เอกราชของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1776 จึงทำให้เกิดค้าใช้จ่ายสูง
                        3. เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจจากภาคเกษตรกรรมมาสู่ภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดวิกฤตการทางการเกษตร ราคาอาหารสูงขึ้นไม่สมดุลกับค่าแรงที่ได้รับ การเปลี่ยนแปลงนี้ก่อให้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นมา คือชนชั้นกลาง (พ่อค้า นายทุน) ซึ่งมีส่วนสำคัญในการปฏิวัติ
                        4. พระเจ้าหลุยส์ไม่สามารถตัดค่าใช้จ่ายในราชสำนักได้ แต่ก็พยายามแก้ไขโดย
                            - ปรับปรุงการเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ก่อให้เกิดการไม่พอใจในกลุ่มคนบางกลุ่มที่ไม่เคยเสียภาษี
                            - เพิ่มการกู้เงิน ซึ่งก็ช่วยทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยมากขึ้นด้วยเช่นกัน
                            - ตัดรายจ่ายบางประการ เช่น การเลิกเบี้ยบำนาน ลดจำนวนค่าราชการ ซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ  ยังส่งผลถึงการทำงานของราชการไม่มีประสิทธิภาพ
                           การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไม่เป็นผลสำเร็จ เนื่องจากแก้ไขที่ไม่ตรงจุด จึงไม่สามารถตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลงไปได้
              ด้านสังคม               1. การรับอิทธิพลทางความคิดของชาวต่างชาติ จาการที่ฝรั่งเศสเข้าไปช่วยสหรัฐอเมริกาทำสงครามประกาศอิสภาพจากอังกฤษ จึงทำให้รับอิทธิพลทางความคิดด้านเสรีภาพนั้นกลับเข้ามาในประเทศด้วย อิทธิพลทางความคิดที่สำคัญที่รับมาคือจากบรรดานักปรัชญากลุ่ม ฟิโลซอฟส์ (Philosophes)  นักปรัชญาคนสำคัญคือ วอร์แตร์, จอห์น ล็อค, รุสโซ่
                             2. เกิดปัญหาความแตกต่างทางสังคม อันเนื่องมาจากพลเมืองแบ่งออกเป็น 3 ฐานันดร คือ
                                  - ฐานันดรที่ 1 พระ
                                  - ฐานันดรที่ 2 ขุนนาง
                                  - ฐานันดรที่ 3 สามัญชน
                              ฐานันดรที่ 1 และ 2 เป็นกลุ่มที่มีอภิสิทธิ์ชน คือไม่ต้องเสียภาษี ทำให้กลุ่มฐานันดรที่ 3 ต้องแบกรับภาระทั้งหลายอย่างเอาไว้เช่น การเสียภาษี การจ่ายเงินค่าเช่าที่ดิน และการถูกเกณฑ์ไปรบ กลุ่มฐานันดรที่ 3 ถือเป็นกลุ่มไม่มีอภิสิทธิ์ชน
              สาเหตุปัจจุบันของการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789
                             เมื่อประเทศฝรั่งเศสประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจจนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จึงทรงเปิดประชุมสภาฐานันดร (Estates General) ในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1789 เพื่อขอคะแนนเสียงของตัวแทนของประชาชนทุกกลุ่มช่วยกันแก้ไขปัญหาทางการคลัง  แต่ได้เกิดปัญหาขึ้นเพราะกลุ่มฐานันดรที่ 3 เรียกร้องให้นับคะแนนเสียงเป็นรายหัว แต่กลุ่มฐานันดรที่ 1 และ 2 ซึ่งได้ร่วมมือกันเสมอนั้นเสนอให้นับคะแนนเสียงแบบกลุ่ม  จึงทำให้กลุ่มฐานันดรที่ 3 เดินออกจากสภา แล้วจัดตั้งสภาแห่งชาติ (National Assombly) เรียกร้องให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ปิดห้องประชุม
                            ต่อมาวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1789 สภาแห่งชาติได้ย้ายไปประชุมที่สนามเทนนิส และร่วมสาบานว่าจะไม่ยอมแพ้และไม่ยอมแยกจากกันจนกว่าจะได้รับชัยชนะ และต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใช้ในการปกครองประเทศ
              ในขณะเดียวกันกับความวุ่นวายได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในปารีส และได้ขยายตัวออกไปทั่วประเทศ  ฝูงชนชาวปารีสได้รับข่าวลือว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กำลังจะส่งกำลังทหารเข้ามาปราบปรามความฝูงชนที่ก่อวุ่นวายในปารีส
                            ดังนั้น ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ.1789 ฝูงชนจึงได้ร่วมมือกันทำลายคุกบาสติล(Bastille) ซึ่งเป็นสถานที่คุมขังนักโทษทางการเมือง และถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองในระบอบเก่า
              รูปการทำลายคุกบาสติล
              ผลจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789
                            1. เปลี่ยนจากการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (คนเดียว) มาสู่ระบอบสาธารณรัฐ (หลายตน)
                            2. มีการล้มล้างกลุ่มอภิสิทธิชน พระและขุนนางหมดอำนาจ, กลุ่มสามัญชน กรรมกร ชาวนา และโดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นกลาง เข้ามามีอำนาจแทนที่
                            3. ศาสนาจักรถูกรวมเข้ากับรัฐ ทำให้อำนาจของสันตะปาปาถูกควบคุมโดยรัฐ
                            4. เกิดความวุ่นวายทั่วประเทศเพราะประชนชนบางส่วนยังติดอยู่กับการปรครองแบบเก่า
                            5. มีการจับขุนนางประหารด้วยเครื่องกิโยตินมากมาย และที่สำคัญ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ ถูกตัดสินให้ประหารชีวิตเมื่อวันที่ 21 มกราคม 1793 และพระนาง มารี อังตัวเนตต์ ถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยเครื่องกิโยติน ในวันที่ 10 ตุลาคม 1793 เป็นการสิ้นสุดราชวงศ์บลูบลองก์ที่ปกครองฝรั่งเศสมานาน
                            6. มีการทำสงครามกับต่างชาติ
                            7. มีการขยายอิทธิพลแนวความคิดและเป็นต้นแบบของการปฏิวัติไปยังประเทศอื่น ๆ ในยุโรป
              รูปเครื่องประหารกิโยติน (Guillotine)

              วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2560

              ทักทายชาวต่างชาติยังไงไม่ให้น่าเบื่อนอกเหนือจากคำว่า Hi หรือ Hello

              Formal – การทักทายอย่างเป็นทางการ แบบที่ยังไม่สนิท หรือถ้าสนิทแล้วก็ยังพูดได้
              • “Good morning” “Good afternoon” “Good evening” – “สวัสดีตอนเช้า” “สวัสดีตอนกลางวัน” “สวัสดีตอนเย็น”
              อันนี้แล้วแต่เวลาที่ทักทาย
              • “It’s nice to meet you.” “It’s a pleasure to meet you.” – “ยินดีที่ได้พบคุณ/ได้เจอคุณ”
              มักใช้กับการพบปะกันครั้งแรก แต่ถ้าพบกันในครั้งถัดๆไปแล้ว ก็สามารถเติม “again” ตามหลังประโยคได้ เช่น “It’s nice to meet you again.” “It’s a pleasure to meet you again.”
              • “How do you do.” – “สวัสดี”
              • เป็นการทักทายอย่างเป็นทางการมาก ส่วนใหญ่จะเป็นคนอังกฤษพูดทักทายกัน
                Informal – คำทักทายที่มีความเป็นกันเองขึ้นมาหน่อย ได้แก่
                • “Morning!” – “สวัสดีตอนเช้า”
                เป็นคำย่อมาจาก “Good moning”
                • “How are you” “How are things (with you)?” “What’s new?” – “เป็นอย่างไรบ้าง”
                • ถ้าแปลกันตรงๆก็คือ “เรื่องของคุณเป็นอย่างไรบ้าง” “คุณมีเรื่องราวอะไรใหม่ๆบ้าง” คล้ายๆกับเป็นการอัพเดทชีวิตกันและกัน
                  • “It’s good to see you.” – “ดีใจที่ได้พบคุณ”
                  มักใช้กันคนที่ไม่ได้เจอมาซักพักนึง
                  • “G’day!” ย่อมาจากคำว่า “Good day” – “สวัสดี”
                  ประมาณว่า “เป็นวันที่ดีนะ”
                  • “Howdy!” – “สวัสดี”
                  เป็นคนทักทายโดยเฉพาะคนทางใต้ของอเมริกา
                  Casual – คำทักทายที่มีความเป็นกันเองแบบเพื่อนๆคุยกัน
                  • “Hey” “Hey there” “Yo!” – “สวัสดี”
                  • “What’s up?” (หรือพูดย่อๆว่า “‘Sup?”) “How’s it going?” “What’s happening”
                  มีความหมายโดยรวมคือ “เป็นไง” “มีไรบ้าง”
                  • “How come I never see you” – “ทำไมไม่ค่อยเห็นคุณเลย”, “It’s been such a long time” – “ไม่ได้เจอกันตั้งนานแหน่ะ”, “Long time no see” – “นานแล้วนะที่ไม่ได้เจอกัน”, “Where have you been hiding” – “คุณหายไปไหนมาเนี่ย”, “It’s been ages since we last met’ – “ครั้งสุดท้ายที่เราเจอกันมันก็นานมากแล้วนะ”












              วิธีเลือกใช้แก้วไวน์

              วิธีเลือกใช้แก้วไวน์